โครงการพระเมตตากรุณาของสมเด็จพระพันปีหลวง

12 สิงหาคม

วันเฉลิมพระชนมพรรษา

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม​ ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา

๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓

Slider
ถวายพระพร-Home2

อัพเดท เมษายน 2565

พระราชประวัติ

พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

          สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบรมราชินีนาถใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของ พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร สมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี พระบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า “สิริกิติ์” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เป็นศรี แห่งกิติยากร”

          ทรงพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ที่บ้านพลเอก เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ผู้เป็นบิดาของหม่อมหลวงบัว ณ บ้านเลขที่ ๑๘๐๘ ถนนพระรามหก ตําบลวังใหม่ อําเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร  ขณะนั้นเป็นระยะที่ประเทศเพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ก่อนหน้านั้นพระบิดาของพระองค์ทรงดํารงตําแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก  มียศเป็นพันเอก หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร

          หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ทรงออกจากราชการทหาร โดยรัฐบาลแต่งตั้งให้ไปรับราชการในตําแหน่งเลขานุการเอกประจําสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริก ส่วนหม่อมหลวงบัวซึ่งมีครรภ์แก่ ยังคงพํานักอยู่ในประเทศไทย  จนให้กําเนิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์แล้ว จึงเดินทางไปสมทบมอบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ให้อยู่ในความดูแลของเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ และท้าววนิดาพิจาริณี ผู้เป็นบิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว

          หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ต้องอยู่ห่างไกลบิดามารดาตั้งแต่อายุยังน้อย บางคราวต้องระหกระเหินไปต่างจังหวัด ตามเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง เช่น ในพุทธศักราช ๒๔๗๖ หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร พระมารดาของ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไปสงขลาด้วย

          ปลายพุทธศักราช ๒๔๗๗ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลทรงลาออกจากราชการกลับประเทศไทยพร้อมครอบครัว อันมีหม่อมหลวงบัว หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ บุตรคนโต และหม่อมราชวงศ์บุษบา บุตรีคนเล็ก ผู้เกิดที่สหรัฐอเมริกา แล้วมารับหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ บุตร<คนรอง กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ จากหม่อมเจ้าอัปษรสมานกลับมาอยู่รวมกันที่ตําหนัก ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

        หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เริ่มเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ปากคลองตลาด ในพุทธศักราช ๒๔๗๙ แต่เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาลุกลามมาถึงประเทศไทย จังหวัดพระนครถูกโจมตีทางอากาศบ่อยครั้ง ทําให้การเดินทางไม่สะดวก และไม่ปลอดภัย ในพุทธศักราช ๒๔๘๓ จึงย้ายไปเรียนชั้นประถมและมัธยมที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ ถนนสามเสน เพราะอยู่ใกล้บ้านในระยะที่พอจะเดินไปโรงเรียนเองได้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เริ่มเรียนเปียโนที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ และในเวลาต่อมาได้ตั้งใจที่จะมีอาชีพเป็นนักเปียโน

          หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้เผชิญสภาพของสงครามโลกมาเช่นเดียวกับคนไทยทั้งหลาย หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ผู้ทรงเป็นทหารเป็นผู้ปลูกฝังให้บุตรและบุตรีรู้จักความมีวินัย ความอดทน ความกล้าหาญ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความเสียสละ โดยอาศัยสถานการณ์ในสงครามเป็นตัวอย่าง และสงครามโลกก็ทําให้คนไทยทั้งปวงต้องหันหน้าเข้าช่วยเหลือกันในยามทุกข์ยาก สิ่งเหล่านี้จึงหล่อหลอมหม่อมราชวงศ์สิริกิต์ ให้มีความเมตตาต่อผู้อื่น และรักความมีระเบียบแบบแผนมาตั้งแต่เยาว์วัย

          หลังจากสงครามสงบแล้ว นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นคือ นายควง อภัยวงศ์ ได้แต่งตั้งให้ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล เป็นอัครราชทูตประจําประเทศอังกฤษ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลจึงทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปด้วยในกลางพุทธศักราช ๒๔๘๙ ขณะนั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เรียนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ ของโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์แล้ว

          ระหว่างอยู่ที่ประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เรียนเปียโน ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส กับครูพิเศษ แต่อยู่ที่อังกฤษได้ไม่นาน พุทธศักราช ๒๔๙๐ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลก็ทรงย้ายไปเป็นอัครราชทูตประจําประเทศฝรั่งเศส และเดนมาร์ก ก่อนจะกลับมาเป็นเอกอัครราชทูตประจําประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง ระหว่างนี้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ยังคง ตั้งใจเรียนเปียโนอย่างขะมักเขม้นเพื่อเตรียมสอบเข้าวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส

          พุทธศักราช ๒๔๔๑ ขณะที่หม่อมเจ้านักขัตรมงคลและครอบครัวอยู่ในปารีสได้รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งโปรดเสด็จพระราชดําเนินไปทอดพระเนตรโรงงานทํารถยนต์ในกรุงปารีสอยู่เสมอ  จนเป็นที่คุ้นเคย และต้องพระราชอัธยาศัย ฉะนั้นเมื่อสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุปัทวเหตุทางรถยนต์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต้องประทับรักษาพระองค์ในสถานพยาบาล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หม่อมหลวงบัวพาบุตรีทั้งสอง คือหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์และหม่อมราชวงศ์บุษบาเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเยี่ยมพระอาการเป็นประจํา จนพระอาการประชวรทุเลาลง และเสด็จกลับพระตําหนักได้ สมเด็จ  พระราชชนนีได้รับสั่งขอให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่ศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ ในโรงเรียนประจําชื่อโรงเรียน Riante Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในการสอนวิชาพิเศษแก่กุลสตรี คือ ภาษา ศิลปะ ดนตรี ประวัติวรรณคดี และประวัติศาสตร์

          ต่อมาอีก ๑ ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หม่อมเจ้านักขัตรมงคลและครอบครัวมาเฝ้าทูลละอองพระบาท แล้วสมเด็จพระราชชนนีรับสั่งขอหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ต่อหม่อมเจ้านักขัตรมงคล และทรงประกอบพิธีหมั้นเป็นการภายใน เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๔๒ ทรงใช้พระธํามรงค์ที่สมเด็จพระราชบิดาทรงหมั้นสมเด็จพระราชชนนีเป็นพระธํามรงค์หมั้น แล้วโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ศึกษาต่อไป จนถึงกําหนดเสด็จนิวัตพระนคร จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ตามเสด็จกลับมาถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลในเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓

          วันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ มีพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นประธาน พระราชทานน้ำพระพุทธมนต์และเทพมนตร์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชและหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยและลงนามในทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และในวันนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็น “สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์”

          วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช  ๒๔๙๓   เป็นวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก   สมเด็จ     พระเจ้าอยู่หัวทรงรับเฉลิม พระบรมนามาภิไธยว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และทรงเฉลิมพระอิสริยยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี”

          วันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ ทั้งสองพระองค์เสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพราะแพทย์ผู้ถวายการรักษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกราบบังคมทูลแนะนําให้ทรงพักรักษาพระองค์อีกระยะหนึ่ง ในพุทธศักราช ๒๕๕๔ สมเด็จพระนางเจ้าฯ   พระบรมราชินี มีพระประสูติการสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ ณ เมือง     โลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเจริญพระชันษาได้ ๗ เดือน ทั้งสามพระองค์จึงเสด็จนิวัตประเทศไทย ประทับ ณ พระที่นั่ง อัมพรสถาน พระราชวังดุสิต สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ   เจ้าฟ้าวชิราลงกรณฯ ซึ่งปัจจุบันคือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดาฯ  ซึ่งปัจจุบันทรงได้รับการ สถาปนาเป็นสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณ วรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี    และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  เจ้าฟ้า      จุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ซึ่ปัจจุบันทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ได้ประสูติต่อมาตามลําดับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน รวมพระราชโอรสและพระราชธิดา ๔ พระองค์

          ปลายพุทธศักราช ๒๔๙๘ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ผู้ทรงดํารงตําแหน่ง สภานายิกาสภากาชาดไทยเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงแต่งตั้งสมเด็จพระบรมราชินีให้ทรง ดํารงตําแหน่งสภานายิกาแทนเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๔ และในปีเดียวกันนี้พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทรงพระผนวชตามโบราณราชประเพณี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง สมเด็จพระบรมราชินีเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ภายหลังเมื่อทรงลาผนวชแล้วได้ทรงสถาปนาพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นับเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระองค์ที่สองของไทยต่อจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งทรงปฏิบัติราชการแทนพระองค์เมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดําเนินเยือนยุโรป

          สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ ทั้งในฐานะที่ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถของไทย และในฐานะคู่พระราชหฤทัยแห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กล่าวคือ ทรงช่วยแบ่งเบาพระราชภารกิจทั้งหลายไปได้ เป็นอันมาก ทั้งยังมีพระราชดําริริเริ่มโครงการใหม่ เพื่อช่วยเหลือประชาชนและพัฒนาประเทศอย่างอเนกอนันต์ ซึ่งโครงการตามพระราชดําริเหล่านั้นได้ยังประโยชน์มหาศาลแก่ประชาชนสืบมาจนทุกวันนี้

ศิลปาชีพ

ศิลปาชีพ

“.. .ข้าพเจ้าได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนําของพระราชทานไปช่วยเหลือราษฎร มักจะเป็น เครื่องอุปโภคบริโภค พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งกับข้าพเจ้าว่า การช่วยเหลือแบบนี้เป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้าซึ่งช่วยเขาไม่ได้จริง ๆ ไม่เพียงพอ ทรงคิดว่าทําอย่างไรจึงจะช่วยเหลือชาวบ้านเป็นระยะยาว คือทําให้เขามีหวังที่จะอยู่ดีกินดีขึ้น ข้าพเจ้าจึงเริ่มคิดหาอาชีพเสริมให้แก่ ครอบครัวชาวนาชาวไร่
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหาแหล่งน้ำให้การทําไร่ทํานาของเขาเป็นผลต่อประเทศชาติ ต่อบ้านเมือง ทรงพระดําเนินไปดูตามไร่ของเขา ทรงคิดว่านี่เป็นการให้กําลังใจ และที่ทรงให้ข้าพเจ้าดูแลครอบครัว เลยเป็นที่เกิด ของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ…”

พระราชดํารัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงพระราชทานแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา

พระเกรียติคุณ

พระเกียรติคุณปรากฏไพศาล

          สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมุ่งมั่นในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ในการอุปถัมภ์บำรุงพสกนิกรให้มีความอยู่ดีกินดี มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง มีการศึกษา มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพการงาน มีความรักชาติบ้านเมือง และนิยมในศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ ทรงดูแลรอบด้านไปจนถึงสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์สรรพสิ่ง พระมหากรุณาธิคุณนี้ไม่เลือกเพศ ผิวพรรณ และชาติชั้นวรรณะใด ๆ ดังนั้น ราษฎรในประเทศเพื่อนบ้านที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นในประเทศไทยก็ได้อาศัยพระบรมโพธิสมภารนี้ด้วย
          พระเกียรติคุณแห่งพระราชกรณียกิจอเนกประการ เป็นที่ทราบอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและนอกประเทศทั่วโลก จึงมีผู้ขอทูลเกล้าฯ ถวายปริญญากิตติมศักดิ์และรางวัลเกียรติยศเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณกันเป็นอันมาก ดังตัวอย่างที่เชิญมาเหล่านี้

เหรียญเซเรส

เหรียญเซเรส

วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒

            เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ผู้อำนวยการใหญ่ องค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเชเรส (Ceres Medal) แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อันเนื่องมาจากการที่ทรงเป็นผู้มองเห็นการณ์ไกล และทรงพยายามที่จะยกฐานะของสตรี เพื่อที่จะยกระดับเศรษฐกิจกับสวัสดิการทางสังคม ดังความตอนหนึ่งในประกาศสดุดีว่า

          “โดยที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แห่งประเทศไทย มีพระราชหฤทัยอันเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม พระราชทานพระมหากรุณาอนุเคราะห์เกื้อกูลพสกนิกรชาวไทยทั้งมวลอยู่เสมอมิได้ขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ขัดสนจนยากในท้องถิ่นชนบท ดังเห็นได้จากการที่ทรงทุ่มเทอุทิศทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกำลังพระวรกายหรือกำลังทรัพย์ โดยไม่ทรงคำนึงถึงพระองค์เองเลยแม้แต่น้อย พระราชทานความร่วมมือแก่องค์การสังคมสงเคราะห์กับองค์การกุศลต่าง ๆ อันมุ่งที่จะหาทางบรรเทาความทุกข์ร้อนของประชาชนที่ยากจนทั้งหลาย โดยจัดหาอาหารเลี้ยงดูผู้อดอยากขาดแคลน ตลอดจนแสวงหาที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ที่มีอันต้องตกระกำลำบาก รวมทั้งบรรดาเด็กกำพร้าที่   ไร้ญาติขาดมิตรทั้งหลายทั้งปวง”

คำจารึกที่ด้านหลังของเหรียญเซเรสคือ “TO GIVE WITHOUT DISCRIMINATION”

ถอดเป็นภาษาไทยได้ว่า “ให้โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง” อันเป็นคติธรรมประจำพระราชหฤทัยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

เหรียญโบโรพุทโธทองคำ

วันที่ ๓๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๕

          วันที่ ๓๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Mr. Federico Mayorผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเหรียญโบโรพุทโธทองคำในมรดกสิ่งทอของเอเชีย ดังความในคำประกาศสดุดี ตอนหนึ่งว่า

           “พระราชกรณียกิจของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ที่ทรงมีต่องานศิลปหัตถกรรมนั้น นอกจากจะเป็นการฟื้นชีวิตแก่ผู้ยากไร้แล้ว ยังช่วยให้ช่างฝีมือทั้งหลายมีรายได้สม่ำเสมอ ซึ่งหากปราศจากพระมหากรุณาธิคุณของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว งานศิลปหัตถกรรมเหล่านี้ก็คงจะสูญสิ้นไป จึงนับได้ว่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ทรงพัฒนางานศิลปาชีพอย่างสมบูรณ์ ตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ที่ได้ดำเนินมาทั่วโลกคือการส่งเสริมพัฒนาการของประเทศตามแนวทางวัฒนธรรม เป้าหมายที่มีร่วมกันก็คือ การที่จะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และสามารถพัฒนา อย่างต่อเนื่องเพื่อคุณประโยชน์แก่มวลชน”

 เหรียญโบโรพุทโธทองคํา (Unesco Borobudur Gold Medal) ที่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๙ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการผดุงรักษาไว้ซึ่งมรดกวัฒนธรรมของประชาคมโลก

เหรียญรางวัลพิเศษเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณ

วันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕

          วันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ องค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลพิเศษเพื่อสดุดีพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (UNICEF Special Recognition Award)  ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร โดยกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ประสานงานและดําเนินการจัดงานถวาย

            ความในคําสดุดีพระเกียรติ ซึ่ง Mrs. Karin Sham Poo รองผู้อํานวยการบริหารขององค์การยูนิเซฟกล่าวตอนหนึ่งมีว่า “ในช่วงเวลา ๔๒ ปี นับแต่ที่ทรงดํารงตําแหน่งสมเด็จพระบรมราชินีแห่งราชอาณาจักรไทย เด็กและแม่นับล้าน ๆ คน ได้รับประโยชน์จากบริการ ขั้นพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ บริการสาธารณสุข การศึกษา และการส่งเสริมอาชีพ โดยผ่านทางการดําเนินงานของมูลนิธิหรือโครงการทั้งหลายภายใต้ พระบรมราชินูปถัมภ์ และรวมทั้งที่เป็นผลมาจากกระแสพระราชเสาวนีย์ และพระราชดําริต่าง ๆ ด้วย”

 เหรียญรางวัลพิเศษเพื่อสดุดีพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขององค์การกองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ตั้งอยู่บนฐานไม้ซึ่งสลักคําสดุดีว่า
“To Her Majesty Queen Sirikit In Recognition of Her Dedication and Profound Commitments to Improving the Lives of Mothers and Children in Thailand”

รางวัลแห่งความเป็นเลิศของกองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ

วันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕

วันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ กองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UNIFEM) ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลแห่งความเป็นเลิศของกองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร โดยกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ประสานงานและดําเนินการจัดงานถวายรางวัล รางวัลนี้เป็นรางวัลสากลที่ยูนิเฟม มอบแด่ผู้นําที่ได้แสดงให้ประจักษ์ชัดถึงความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะส่งเสริมบทบาทของสตรี และได้ประกอบกิจกรรมในด้านนี้อย่างเป็นเลิศ ผู้ทูลเกล้าฯถวายรางวัลคือ Mrs. Sharon Capling-Alakya ผู้อํานวยการกองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ซึ่งความในคําประกาศพระเกียรติคุณตอนหนึ่งมีว่า “ความห่วงใยของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททั้งในด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและในด้านสิ่งแวดล้อม ได้ช่วยให้สตรีไทยปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น สตรีเป็นผู้พิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และเป็นแหล่งรวบรวมความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นนั้น ๆ การที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เข้าพระราชหฤทัย และทรงตระหนักดีถึงความสําคัญของบทบาทสตรีในด้านนี้ ได้มีส่วนอย่างสําคัญที่ทําให้ชนในชาติได้รับรู้ถึงบทบาทของสตรีไทยที่มีส่วนส่งเสริมพัฒนาการของประเทศ”

รางวัลแห่งความเป็นเลิศของกองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UNIFEM AWARD OF EXCELLENCE) เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีแผ่นโลหะสลักคําสดุดีว่า

“UNIFEM AWARD OF EXCELLENCE
Presented to
HER MAJESTY QUEEN SIRIKIT OF THAILAND
in recognition of her earnest commitment to
and support of Thai woman’s contribution to their country
2 August 1992″

ฉลองพระองค์ชุดไทยพระราชนิยม

          เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๓ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีกำหนดการที่จะตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทรงพระราชดำริว่า แม้ไทยเราจะมีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมในการแต่งกายของไทยอยู่แล้ว แต่สตรีไทยก็ยังไม่มีเครื่องแต่งกายประจำชาติที่แน่นอน จึงมี พระราชเสาวนีย์ให้ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบเครื่องแต่งกาย ปรับปรุงแบบเสื้อที่สตรีไทยแต่งกันมาแต่โบราณให้เหมาะสม  เพื่อทรงใช้เป็นชุดประจำชาติไทยระหว่างการเสด็จฯ ไปทรงเยือนต่างประเทศครั้งนั้น ผลก็คือสตรีไทยได้มีชุดประจำชาติที่สง่างามและเหมาะสมไว้ใช้ในโอกาสต่าง ๆ มาจนทุกวันนี้ ซึ่งเรียกกันว่า “ชุดไทยพระราชนิยม”

ชุดไทยพระราชนิยม มีดังนี้

๑.  ชุดไทยเรือนต้น 

๒. ชุดไทยจิตรลดา 

๓. ชุดไทยอมรินทร์ 

๔. ชุดไทยบรมพิมาน

๕. ชุดไทยจักรี  

๖.  ชุดไทยดุสิต 

๗. ชุดไทยศิวาลัย 

๘. ชุดไทยจักรพรรดิ

       จะสังเกตได้ว่า ชื่อชุดไทยต่าง ๆ เหล่านี้เป็นชื่อเกี่ยวกับพระที่นั่งหรือพระตำหนักซึ่งมีความสอดคล้องกันกับโอกาสและความเหมาะสมในการใช้เครื่องแต่งกายชุดไทยเหล่านี้

          ปัจจุบันนี้ชุดไทยพระราชนิยมได้เป็นที่นิยมในหมู่สตรีไทยและสังคมไทยทั่วไป ทั้งยังได้เผยแพร่ชื่อเสียงความงดงามด้วยศิลปะทั้งปวงไปยังนานาประเทศ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่บรรดาสตรีไทยที่ได้พระราชทานแนวพระราชนิยมเป็นแบบแผนการแต่งกายประจำชาติสำหรับสตรีขึ้น เป็นการส่งเสริมเชิดชูศิลปวัฒนธรรมไทย ที่จะปรากฏต่อไปเป็นประวัติศาสตร์ของชาติสืบชั่วกาลนาน

ชุดไทยเรือนต้น

ตั้งชื่อตามพระตำหนักเรือนต้นในพระราชวังดุสิต เป็นชุดไทยแบบลำลองใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม ลักษณะเป็นผ้าซิ่นป้ายยาวจรดข้อเท้า เสื้อเป็นคอกลมสั้นแขนสามส่วน ผ่าอก กระดุมห้าเม็ด ใช้เครื่องประดับน้อยชิ้น ใช้ได้หลายโอกาส เช่น ไปทำบุญ ไปงานมงคล

ชุดไทยจิตรลดา

ตั้งตามชื่อพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในพระราชวังดุสิต เป็นชุดที่ใช้ในพิธีกลางวัน ลักษณะทั่วไปคล้ายชุดไทยเรือนต้น แต่ต่างกันตรงคอเสื้อที่มีขอบตั้ง แขนยาวจรดข้อมือ และผ้าซิ่นป้าย เป็นผ้าไหมมีเชิงยกดอกทั้งผืน ใช้เครื่องประดับตามควร

ชุดไทยอมรินทร์

ตั้งตามชื่อพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ ในพระบรมมหาราชวัง ใช้ในงานพระราชพิธีและงานกลางคืน มีลักษณะเหมือนชุดไทยจิตรลดา แต่ตัดเย็บด้วยผ้ายกไหมที่มีทองแกมหรือยกทองทั้งตัว ใช้เครื่องประดับที่สวยงาม

ชุดไทยบรมพิมาน

ตั้งชื่อตามพระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ใช้ในงานพระราชพิธีและงานพิธีกลางคืน ตัวเสื้อแขนยาว คอกลม มีขอบตั้ง ซิ่นจีบหน้านาง ตัดเย็บด้วยผ้าไหมที่มีทองแกมหรือยกทองทั้งตัว ตัวเสื้อและซิ่นอาจเย็บติดเป็นชุดเดียวกันเพื่อความสวยงามก็ได้ คาดทับด้วยเข็มขัดแบบไทย

ชุดไทยจักรี

ตั้งชื่อตามพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ใช้ในงานพิธีกลางคืน ท่อนบนเปิดไหล่ด้านหนึ่ง มีสไบสำเร็จ จะเป็นสไบปักหรือไม่ปักก็ได้ ตัดเย็บติดกับท่อนล่าง ซึ่งเป็นผ้าซิ่นจีบหน้านาง เป็นผ้าไหมยกทองทั้งตัวหรือยกเฉพาะเชิง คาดทับด้วยเข็มขัดแบบไทย

ชุดไทยดุสิต

ตั้งชื่อตามพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ใช้ในงานพิธีเต็มยศตอนกลางคืน ตัดเย็บด้วยผ้ายกไหมหรือยกทอง ผ้าซิ่นจีบหน้านาง เสื้อคอกลมกว้าง ไม่มีแขน ปักด้วยดิ้นเงินดิ้นทองหรือลูกปัดคาดทับด้วยเข็มขัดแบบไทย

ชุดไทยศิวาลัย

ตั้งชื่อตามสวนศิวาลัย ในพระบรมมหาราชวัง ใช้ในงานพระราชพิธีทั้งกลางวันและกลางคืน มีลักษณะเหมือนชุดไทยบรมพิมาน แต่ห่มสะพักทับเสื้ออีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันใช้ในงานพระราชพิธีหรืองานพิธีเต็มยศ

ชุดไทยจักรพรรดิ

ตั้งชื่อตามพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง มักใช้ในงานพระราชพิธีเต็มยศตอนกลางคืน ท่อนบนเปิดไหล่ข้างหนึ่ง ห่มผ้าสองชั้น ชั้นในมักเป็นสไบจีบและห่มสะพักทับ ผ้าซิ่นยกทองจีบหน้านางลักษณะเหมือนชุดไทยจักรี คาดเข็มขัดและตกแต่งด้วยเครื่องประดับที่สวยงาม

ดอกไม้ในพระนามาภิไธย

         สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงห่วงใทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยอย่างยิ่ง เมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพสกนิกรในท้องถิ่นห่างไกลทั่วประเทศเช่น ในป่าดิบเขาทางภาคเหนือและภาคอีสาน ตลอดจนป่าพรุทางภาคใต้ได้ทรงพบว่าป่าถูกทำลายไปมาก สัตว์ป่าลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วและพันธุ์ไม้หลายชนิดของไทยกำลังจะสูญไป จึงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการอนุรักษ์ป่าไม้ สัตว์ป่า และพันธุ์ไม้นานาชนิดขึ้น ยังผลให้มีสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์สามารถดำรงอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา “พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ” แด่พระองค์ อีกทั้งด้วยพระปรีชาสามารถ พระวิริยอุตสาหะ พระมหากรุณาธิคุณและพระสิริโฉมอันงดงาม ทำให้ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา องค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตเชิญพระนามาภิไธยไปเป็นชื่อดอกไม้ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมประเภทต่าง ๆ เพื่อเฉลิมพระเกียรติจำนวน ๔ ชนิด ได้แก่ กุหลาบควีนสิริกิติ์ คัทลียาควีนสิริกิติ์ ดอนญ่าควีนสิริกิติ์ และบัวควีนสิริกิติ

ขอขอบคุณ กองราชเลขานุการ

ในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง